Skip to content

เกมตามหาสมบัติ

เชิญเพื่อนๆ ร่วมตามล่าหางานศิลปะ มหาสมบัติล้ำค่าที่ซ่อนตัวอยู่ภายในวัดอรุณราชวราราม งานศิลปะที่ใครหลายคนอาจมองข้าม แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าความงามทางศิลปะ และเรื่องราวเบื้องหลังที่รอให้เพื่อนๆ ค้นหาและทำความรู้จักวัดอรุณฯ ในมุมที่เพื่อนๆ อาจไม่เคยเห็น

เกมตามหาสมบัติ

เชิญเพื่อนๆ ร่วมตามล่าหางานศิลปะ มหาสมบัติล้ำค่าที่ซ่อนตัวอยู่ภายในวัดอรุณราชวราราม งานศิลปะที่ใครหลายคนอาจมองข้าม แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าความงามทางศิลปะ และเรื่องราวเบื้องหลังที่รอให้เพื่อนๆ ค้นหาและทำความรู้จักวัดอรุณฯ ในมุมที่เพื่อนๆ อาจไม่เคยเห็น

*กรุณาเข้าเล่นด้วยโทรศัพท์มือถือ

ทศกัณฐ์ - สหัสเดชะ

รูปปั้นพญายักษ์ 2 ตนที่ยืนขนาบอยู่ที่หน้าซุ้มประตูมงกุฎ ทางเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ที่เรียกกันติดปากว่า “ยักษ์วัดแจ้ง” มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ ตนที่มีกายสีเขียวคือ “ทศกัณฐ์” เจ้าแห่งกรุงลงกา ยืนอยู่ทางทิศใต้ ส่วนตนที่มีกายสีขาวคือ “สหัสเดชะ” เจ้าเมืองปางตาล ยืนอยู่ทางทิศเหนือ ทั้งสองตน พญายักษ์ทั้งคู่สร้างขึ้นตามคติทางพุทธศาสนา ด้วยพญายักษ์เป็นธรรมบาลผู้คุ้มครองธรรม คุ้มครองโลก คุ้มครองคนดี เป็นตัวแทนของเทวดามเหสักข์แห่งวัดอรุณราชวราราม นับเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของหิริโอตตัปปะ (ความละอายใจและความเกรงกลังต่อบาป) และพรหมวิหาร 4 (หลักธรรมที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) อีกด้วย

อ่านต่อ

ยืนอยู่หน้าซุ้มประตูยอดมงกุฎ หน้าพระอุโบสถ

รูปปั้นนายนก - นายเรือง

ประติมากรรมรูปบุคคลนามว่า ของนายเรืองและนายนก โดยนายเรืองเป็นบุคคลในสมัยรัชกาลที่ 1 และนายนกเป็นบุคคลในสมัยรัชกาลที่ 2 การสร้างรูปสลักหินของนายเรืองและนายนก สืบเนื่องมาจากการเผาตัวเองของชายทั้งสองเพื่อให้ได้บรรลุพระโพธิญาน ในสมัยนั้นการกระทำเช่นนั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นการสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา เป็นการกระทำที่น่าเลื่อมใส เป็นการสละชีพเพื่อพระพุทธศาสนา โดยรูปสลักของนายเรืองเป็นชายไว้ผมทรงมหาดไทย นั่งขัดสมาธิ พนมมือ อยู่ทางด้านซ้ายของโบสถ์ ส่วนด้านขวาคือนายนก นั่งขัดสมาธิ มือวางประสานที่หน้าตักในท่านั่งสมาธิ

อ่านต่อ

ศาลด้านข้างซุ้มประตูทรงมงกุฎ

พระนารายณ์ทรงครุฑเอี้ยว

ลายหน้าบันไม้แกะสลักฝีมือช่างสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ช่วงรัชกาลที่ 2 - 3 แกะสลักลวดลายก้านขดเปลวเพลิงจำลองบรรยากาสของสวรรค์ชั้นฟ้า แวดล้อมด้วยเหล่าเทวดา ตรงกลางประดับรูปพระนารายณ์ทรงครุฑเอี้ยวตัวเหมือนกำลังจะบิน ซึ่งพบได้ไม่บ่อยนักในงานศิลปกรรมไทย เพราะรูปพระนารายณ์ทรงครุฑส่วนใหญ่ในงานศิลปกรรมสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มักแกะสลักเป็นรูปครุฑหันหน้าตรง มีความสมมาตรเท่ากันทั้งด้านซ้ายและขวา เหมือนรูปครุฑที่เราพบได้ทั่วไปบนตึกธนาคาร หรือหนังสือราชการ แสดงเห็นความพิเศษและลูกเล่นของช่างแกะสลักไทยโบราณซึ่งซ่อนตัวอย่างแนบเนียนไปกับลวดลายแวดล้อม

อ่านต่อ

หน้าบันระเบียงคตรอบพระอุโบสถ

พระพุทธนฤมิตร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธนฤมิตรขึ้นโดยจำลองแบบจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง มาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานบนบุษบกยอดปรางค์ หน้าพระอุโบสถ

อ่านต่อ

ผนังด้านหน้าพระอุโบสถ

ช้างสำริด ชูงวง

รูปช้างหล่อโลหะสำริดหล่อขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ด้วยเหตุในสมัยของรัชกาลที่ 2 ได้มีพญาช้างเผือกเข้ามาในรัชกาลของพระองค์จำนวน 3 เชือก โดยรูปช้างสำริดรอบพระอุโบสถมีจำนวน 8 เชือก ความสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งอยู่บนแท่นศิลาบริเวณประตูทางเข้าออกพระอุโบสถ ช้างทุกตัวจะหันหน้าเข้าหาพระอุโบสถ โดยช้างสำริดทั้ง 8 ตัว มีอิริยาบถที่ไม่ซ้ำกันเลยเพื่อนๆ ลองไปสังเกตดูกันได้ว่าท่าอะไรบ้าง

อ่านต่อ

ด้านข้างทางเข้าระเบียงคต (บอกก่อนเลยว่าทางเข้ามีช้างยืนหลายท่ามากหาท่าชูงวงให้เจอน้า)

รอยพระพุทธบาทจำลอง

รอยพระพุทธบาทจำลองหินแกะสลักจากประเทศจีน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ตั้งอยู่ในกึ่งกลางพื้นที่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร เป็นอาคารผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกฐานสูง 2 ชั้นฐานชั้นที่ 1 เป็นทางเดินเวียนประทักษิณฐานชั้นที่ 2 เป็นระเบียงทางเดินรอบอาคารทั้งสี่ด้าน ตัวอาคารทั้งส่วนเสาและผนังสร้างด้วยกรรมวิธีก่ออิฐถือปูนประดับกระเบื้องเคลือบสีลายพันธุ์พฤกษาที่สั่งทำขึ้นโดยเฉพาะ ยกเว้นซุ้มประตูหน้าต่างตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีแบบตัดแต่งชิ้นกระเบื้องประกอบเป็นลวดลาย ส่วนหลังคามณฑปสมัยแรกสร้างเป็นรูปแบบหลังคายอดเกี้ยวอย่างจีน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทำเป็นหลังคารูปแบบกรวยเหลี่ยม บนยอดสุดประดับพระเกี้ยวปิดทอง

อ่านต่อ

อยู่ระหว่างพระอุโบสถ และพระวิหาร (ปัจจุบันมณฑปพระพุทธบาทจำลองอยู่ระหว่างบูรณะ อาจทำให้ไม่สามารถเข้าชมภายในได้)

พระอรุณ (พระแจ้ง)

พระพุทธรูปศิลปะล้านช้างอัญเชิญมาจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2401 ในรัชกาลพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 เดิมประดิษฐานอยู่ในพระบรมมหาราชวัง  พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า “พระอรุณ” หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “พระแจ้ง” มีพระนามพ้องกับชื่อวัด จึงโปรดให้อัญเชิญมาไว้ในพระวิหาร

อ่านต่อ

ด้านหน้าพระประธาน ภายในพระวิหาร

กินนรี - กินนร

ประติมากรรมนูนต่ำ รูปกินนรี และกินนร ประดับอยู่ภายในช่องจรนำบริเวณส่วนฐานของปรางค์บริวารรอบพระปรางค์ของวัดอรุณราชวราราม สื่อแทนป่าหิมพานต์ตามคติไตรภูมิที่ปริเวณส่วนฐานของเขาพระสุเมรุคือที่ตั้งของป่าหิมพานต์ ที่อยู่ของเหล่าสัตว์วิเศษ ยักษ์ และเทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา ถ้าเพื่อนๆ คนไหนหาเจอแล้ว อย่างลืมถ่ายรูปทำท่าพนมมือคู่กับเจ้ากินนรีและกินนรมาอวดกันน้า

อ่านต่อ

ชั้นฐานพระปรางค์บริวาร

เกมตามหาสมบัติ

เชิญเพื่อนๆ ร่วมตามล่าหางานศิลปะ มหาสมบัติล้ำค่าที่ซ่อนตัวอยู่ภายในวัดอรุณราชวราราม งานศิลปะที่ใครหลายคนอาจมองข้าม แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าความงามทางศิลปะ และเรื่องราวเบื้องหลังที่รอให้เพื่อนๆ ค้นหาและทำความรู้จักวัดอรุณฯ ในมุมที่เพื่อนๆ อาจไม่เคยเห็น

เกมตามหาสมบัติ

เชิญเพื่อนๆ ร่วมตามล่าหางานศิลปะ มหาสมบัติล้ำค่าที่ซ่อนตัวอยู่ภายในวัดอรุณราชวราราม งานศิลปะที่ใครหลายคนอาจมองข้าม แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณค่าความงามทางศิลปะ และเรื่องราวเบื้องหลังที่รอให้เพื่อนๆ ค้นหาและทำความรู้จักวัดอรุณฯ ในมุมที่เพื่อนๆ อาจไม่เคยเห็น

*กรุณาเข้าเล่นด้วยโทรศัพท์มือถือ