พระอุโบสถ วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ด้วยทรงผูกพันอยู่กับวัดนี้เป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่เมื่อครั้งพระองค์ทรงดำรงค์พระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอได้เสด็จมาประทับ ณ พระราชวังเดิม พระองค์ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานของวัดหมดทั้งพระอาราม โปรดให้สร้างพระอุโบสถ และพระวิหารต่อจากที่เริ่มสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้ด้วยฝีพระหัตถ์ และโปรดให้หล่อขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอกคืบ เดิมยังไม่มีพระนาม ด้วยเหตุที่เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีความผูกพันและศรัทธากับวัดอรุณฯ นี่เอง พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้อัญเชิญพระบรมอัฐิในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย บรรจุไว้ในพระพุทธอาสน์ของพระประธานองค์นี้ และถวายพระนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” หลังจากที่ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้แล้ว รู้หรือไม่ : เชื่อกันว่า ผู้ที่ได้สักการะพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก จะสมหวังเรื่องการเงิน การงาน สุขภาพ และในพระอุโบสถแห่งนี้ยังมีโถน้ำมนต์ร้อยปีตั้งอยู่หน้าพระประธาน ให้ประชาชนได้พรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นสิริมงคล พระพุทธนฤมิตร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธนฤมิตรขึ้นโดยจำลองแบบจากพระพุทธรูปฉลองพระองค์ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งประดิษฐานอยู่ในหอพระสุราลัยพิมาน พระบรมมหาราชวัง มาถึงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานบนบุษบกยอดปรางค์ หน้าพระอุโบสถ
Location Archives
พระอุโบสถ POP
พระอุโบสถ ปวศ.
พระอุโบสถ สิ่งศักดิ์สิทธิ์
พระอุโบสถ
พระอุโบสถ เริ่มสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 บนตำแหน่งที่สันนิษฐานว่าเคยเป็นที่ตั้งของ “โรงพระแก้ว” ในสมัยกรุงธนบุรี เป็นอาคารผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ยกฐานสูง มีระเบียงทางเดินรอบอาคาร ผนังอาคารและเสาระเบียงประดับกระเบื้องเคลือบสีลวดลายดอกพุดตานที่สั่งทำขึ้นโดยเฉพาะ เสาระเบียงย่อมุมไม้สิบสองประดับบัวหัวเสา ซุ้มประตูทำเป็นทรงยอดปรางค์ ซุ้มหน้าต่างทรงบันแถลงประดับลายปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ตรงกลางผนังด้านสกัดทั้งสองด้านประดับบุษบกยอดปรางค์ไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในบุษบกฝั่งด้านหน้าพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธยืนปางห้ามสมุทรนามว่า “พระพุทธนฤมิตร” หลังคาจั่วพระอุโบสถแบบมีกันสาดรอบมีคันทวยรองรับชายคา ซ้อนหลังคา 2 ชั้น 3 ตับหลังคา ปั้นลมแบบเครื่องลำยอง หน้าบันไม้แกะสลักปิดทองประดับกระจกสีทำเป็นรูปเทวดาถือพระขรรค์อยู่ภายในปราสาท ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปประธานปางมารวิชัยนามว่า “พระพุทธธรรมมิศราชโลกธาตุดิลก” รอบพระอุโบสถประกอบด้วยใบเสมาหินแกะสลักอยู่ภายในซุ้มเสมาหินอ่อนแกะสลักทรงยอดเจดีย์ ช่องว่างระหว่างซุ้มเสมาประดับตุ๊กตาหินแกะสลักรูปสิงโตจีนยืนอยู่บนแท่นเสาสี่เหลี่ยมจัตุรัสเรียงต่อกันลักษณะเป็นกำแพงแก้วล้อมรอบล้อมพระอุโบสถ ถัดออกมาที่มุมลานประทักษิณทั้งสี่ด้านประดับเจดีย์ศิลาและตุ๊กตาศิลาจีนรูปบุคคลล้อมรอบทั้งลานประทักษิณทั้ง 4 ด้านและช้างคู่หล่อโลหะบริเวณประตูทางเข้าทั้งพระระเบียงทั้ง 4 ด้านขอบเขตพระอุโบสถชั้นนอกสุดกำหนดด้วยพระระเบียงประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยจำนวน 120 องค์ มีประตูทางเข้า – ออกอยู่กึ่งกลางพระระเบียงทั้ง 4 ด้าน ออกแบบเป็นหลังคาจตุรมุขซ้อน 2 ชั้น หน้าบันประดับลวดลายไม้แกะสลักปิดทองประดับประจกรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ
กาชาปองอับเฉา
กาชาปองอับเฉา กาชาปองเป็นหนึ่งในของสะสมสุดฮิตในหมู่เด็กและวัยรุ่นมาสักระยะหนึ่งแล้ว กาชาปอง คือ ของเล่นขนาดเล็กที่ส่วนใหญ่มักจะเป็นฟิกเกอร์โมเดลจากการ์ตูนอนิเมะหรือเกม สำหรับตั้งโชว์ สะสม หรือเอาไว้เล่น ของเล่นหรือตัวโมเดลจะบรรจุไว้ในลูกบอลพลาสติกหรือกล่องพลาสติกขนาดเล็กที่บรรจุอยู่ในตู้กาชาปองอีกที ผู้ที่หยอดเหรียญแล้วหมุนจะได้รับกาชาปองแบบสุ่ม โดยไม่รู้ว่าจะได้ตัวโมเดลแบบไหน สำหรับ “กาชาปองอับเฉา” ที่วัดอรุณราชวราราม เป็นงานศิลปะของ คุณคมกฤษ เทพเทียน ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานอันเป็นเอกลักษณ์ด้วยการสังเกตสิ่งที่เห็นในปัจจุบันแล้วกลับไปศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ โดยในเทศกาลศิลปะ Bangkok Art Biennale 2018 ผลงานของเขา คือ ผลงาน “ยักษ์แฝด” ผลงานกาชาปองอับเฉาของเขา เริ่มจากการค้นหาความหมายของอับเฉา และเข้าไปสำรวจอับเฉาในบริเวณวัด แล้วจัดแบ่งออกมาได้เป็น 8 ประเภท ได้แก่ ขุนนางทหาร ทหารเรือ ทหารยักษ์ เทพธิดา เซียนฮั่นเจ็งหลี ลิงถือลูกท้อและลูกลิง ครุฑ และจระเข้ ซึ่งกลายมาเป็นตุ๊กตาอับเฉาจิ๋วในลูกกาชาปอง เขาใช้คิวอาร์โค๊ดทำให้ตุ๊กตาแต่ละตัวเป็นเหมือนมัคคุเทศก์น้อยเล่าเรื่องนำนักท่องเที่ยวชมวัดอรุณฯ และไปดูอับเฉาตัวจริงในวัดได้ ที่มา : https://adaymagazine.com/komkrit-tepthian-gachapon-upchao/