Skip to content

ซุ้มประตูทรงมงกุฎ และพญายักษ์วัดแจ้ง

สาย - ประวัติศาสตร์ - ยักษ์ และ ซุ้มประตู

ซุ้มประตูทรงมงกุฎ และพญายักษ์วัดแจ้ง

ซุ้มประตูทรงมงกุฎทำหน้าที่เป็นประตูทางเข้าหลักของพระอุโบสถ ตั้งอยู่กึ่งกลางพระระเบียงทางทิศตะวันออก รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นอาคารเครื่องยอดหลังคาจตุรมุขซ้อน 3 ชั้น มีหลังคาชั้นกันสาดโดยรอบ เครื่องยอดทรงมงกุฎ ปั้นลมทรงเครื่องลำยอง ลวดลายหน้าบัน ตลอดจนแผงคอสองรูปบัวหงายรับหลังคาจั่ว ทำเป็นรูปแบบปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบสีด้วยวิธีการตัดแต่งชิ้นกระเบื้องประกอบกันเป็นลวดลายต่างๆ อย่างประณีต

ภาพ : หน้าบัน และเครื่องยอดทรงมงกุฎประดับกระเบื้องเคลือบ (ที่มา : ภูวดล ภู่ศิริ, www.aey.me)

 

ด้านหน้าประตูซุ้มยอดมงกุฎ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หลวงเทพ(กัน) ช่างปั้น เป็นผู้ปั้นรูปปั้นพญายักษ์ 2 ตัวยืนอยู่บนแท่นสูงประมาณ 3 วา มือทั้งสองกุมกระบองทิ่มปลายลงพื้น ทำหน้าที่เป็นทวารบาลเฝ้าหน้าซุ้มประตูหน้าพระอุโบสถข้างละต้น ด้านทิศเหนือยักษ์กายสีขาว คือ สหัสเดชะ และด้านทิศใต้ยักษ์กายสีขาว คือ ทศกัณฐ์ ยักษ์ทั้งสองตนสร้างขึ้นด้วยกรรมวิธีปูนปั้นประดับกระเบื้องเคลือบสีที่สั่งทำขึ้นสำหรับเป็นชิ้นส่วนประดับส่วนต่างๆ ของพญายักษ์โดยเฉพาะ

ภาพ : ยักษ์วัดแจ้ง (ที่มา : ภูวดล ภู่ศิริ)

 

ยักษ์ นั้นคืออะไร

ยักษ์” เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่ง มีกล่าวถึงทั้งในทางศาสนาและวรรณคดี เป็นความเชื่อของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์และศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่ายักษ์มีหลายระดับขึ้นอยู่กับบุญบารมี ยักษ์ชั้นสูงจะมีวิมานเป็นทอง มีรูปร่างสวยงาม ปกติไม่เห็นเขี้ยว เวลาโกรธจึงจะมีเขี้ยวงอกออกมา ยักษ์ชั้นกลางส่วนใหญ่จะเป็นบริวารของยักษ์ชั้นสูง ส่วนยักษ์ชั้นต่ำที่บุญน้อยก็จะมีรูปร่างน่ากลัว ผมหยิกตัวดำผิวหยาบ นิสัยดุร้าย จะเห็นได้ว่าในวัดวาอารามต่างๆ มักจะมียักษ์มาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของวัด หรือโบราณสถาน ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้นยักษ์แบกพระเจดีย์ในวัดพระแก้ว รูปปั้นยักษ์แบกองค์พระปรางค์ในวัดแจ้ง หรือยักษ์วัดโพธิ์ เป็นต้น ซึ่งตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เทศน์สั่งสอนยักษ์ให้ลดทิฐิมานะ ยักษ์ที่ได้ฟังและเข้าใจในพระธรรม จึงได้กลายมาเป็นผู้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่งก็หมายถึง ผู้แบกสรวงสวรรค์ และทำหน้าที่เป็นผู้ปกป้องคุ้มครองสถูปสถาน และอาคารศักดิ์สิทธิ์ เพื่อเป็นการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้มั่งคงและเจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา (ที่มา : https://www.winnews.tv/news/10179)

 

พญายักษ์วัดแจ้ง

รูปปั้นพญายักษ์ 2 ตนที่ยืนขนาบอยู่ที่หน้าซุ้มประตูมงกุฎ ทางเข้าพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม ที่เรียกกันติดปากว่า “ยักษ์วัดแจ้ง” มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ ตนที่มีกายสีเขียวคือ “ทศกัณฐ์” เจ้าแห่งกรุงลงกา ยืนอยู่ทางทิศใต้ ส่วนตนที่มีกายสีขาวคือ “สหัสเดชะ” เจ้าเมืองปางตาล ยืนอยู่ทางทิศเหนือ ทั้งสองตน

(ที่มา : https://www.exoticquixotic.com/stories/wat-pho-wat-jaeng-giants และ https://historyoftemples.kachon.com/358718)

พญายักษ์ทั้งคู่สร้างขึ้นตามคติทางพุทธศาสนา ด้วยพญายักษ์เป็นธรรมบาลผู้คุ้มครองธรรม คุ้มครองโลก คุ้มครองคนดี เป็นตัวแทนของเทวดามเหสักข์แห่งวัดอรุณราชวราราม นับเป็นเจ้าแห่งภูติผีปีศาจ นอกจากนี้ ยังเป็นตัวแทนของหิริโอตตัปปะ (ความละอายใจและความเกรงกลังต่อบาป) และพรหมวิหาร 4 (หลักธรรมที่ทำให้คนปฏิบัติในทางประเสริฐทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา) อีกด้วย